การล่มสลายของจักรวรรดิโรมัน (ค.ศ. 372-ค.ศ. 410) ของ ต้นสมัยกลาง

Die Hunnen im Kampf mit den Alanen, (ชาวฮันในยุทธการกับชาวอาลัน) โดย โยฮันน์ เนโพมุค ไกเกอร์, ค.ศ. 1873 เป็นภาพของชาวอาลันซึ่งเป็นชนในกลุ่มชาวอิหร่านผู้ตั้งถิ่นฐานอยู่ทางเหนือและทางตะวันออกของทะเลดำถูกรุกรานให้ต้องย้ายถิ่นฐานโดยชาวฮันในตอนต้นของสมัยการโยกย้ายถิ่นฐานในยุโรปให้กระจัดกระจายไปตั้งถิ่นฐานอยู่ทั่วไปในจักรวรรดิโรมันการโยกย้ายถิ่นฐานของชนเจอร์มานิคในคริสต์ศตวรรษที่ 5 เกิดจากการรุกรานและทำลายราชอาณาจักรกอธิคโดยชาวฮัน ระหว่าง ค.ศ. 372 จนถึงปี ค.ศ. 375 กรุงโรมเองก็ถูกยึดและปล้นสดมโดยชาววิซิกอท ในปี ค.ศ. 410 และโดยแวนดัล ในปี ค.ศ. 455

ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 2 วัฒนธรรมของโรมันก็เริ่มแสดงสัญญาณของความเสื่อมโทรมในด้านต่างๆ ที่ทั้งสภาวะทางความเป็นอยู่ในเมืองต่างๆ การค้าขายทางทะเล และประชากร ในคริสต์ศตวรรษที่ 3 จำนวนเรือแตกที่พบในทะเลเมดิเตอเรเนียนมีจำนวนเพียง 40 เปอร์เซ็นต์ของที่พบเมื่อเทียบกับในคริสต์ศตวรรษที่ 1[2] ประชากรของจักรวรรดิโรมันลดลงจาก 65 ล้านคนในปี ค.ศ. 150 ลงเหลือเพียง 50 ล้านคนในปี ค.ศ. 400 เท่ากับลดลงกว่า 20 เปอร์เซ็นต์ บ้างก็ว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับสมัยอุณหภูมิเปลี่ยนแปลงในยุโรป ที่เกิดขึ้นระหว่าง ค.ศ. 300 ถึง ค.ศ. 700 เมื่ออุณหภูมโดยทั่วไปในโลกลดลงต่ำกว่าปกติซึ่งเป็นผลทำให้ผลิตผลทางการเกษตรกรรมลดลง[3]

การโยกย้างถิ่นฐานลงมาทางใต้จากสแกนดิเนเวียของกลุ่มชนเจอร์มานิคไปจนถึงทะเลดำในต้นคริสต์ศตวรรษที่ 3 ก่อตัวกันเป็นสหพันธ์ที่มีอำนาจพอๆ กับกลุ่มชนซาร์มาเชียน (Sarmatians) จากเอเชียกลางที่โรมันต้องปราบปรามก่อนหน้านั้น ในโรมาเนียในบริเวณทุ่งหญ้าสเตปป์ตอนเหนือของทะเลดำ ชาวกอทซึ่งเป็นชนกลุ่มหนึ่งในกลุ่มเจอร์มานิคก็เข้าไปตั้งถิ่นฐานและก่อตั้งราชอาณาจักรขึ้นสองราชอาณาจักร–เธอร์วิง (Thervings) และ กรืทธัง (Greuthungs) [4] แต่มาถูกทำลายชนฮั่นที่เข้ามารุกรานในบริเวณนั้นระหว่าง ค.ศ. 372 ถึงปี ค.ศ. 375 ชนฮั่นเป็นสหพันธ์ของชนเผ่าจากเอเชียกลางผู้ก่อตั้งจักรวรรดิร่วมกับชนชั้นผู้นำที่พูดภาษาเตอร์กิก ฮั่นมีความสามารถในการยิงธนูจากหลังม้าที่กำลังควบได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำซึ่งเป็นความสามารถที่นำความสำเร็จมาสู้การโจมตีรุกรานดินแดนต่างๆ ชนกอธต้องหนีไปหลบภัยในดินแดนที่เป็นของของโรมัน (ค.ศ. 376) โดยยอมตกลงเข้าไปตั้งถิ่นฐานโดยไม่ถืออาวุธ แต่บางกลุ่มก็ติดสินบนเจ้าหน้าที่ชายแดนให้นำอาวุธติดตัวเข้าไปได้

เมื่อโรมันยังรุ่งเรืองความมีวินัยและความมีระเบียบในการจัดระบบของทหารโรมันทำให้เป็นกองทหารที่มีประสิทธิภาพ แต่โรมันถนัดที่จะเป็นทหารราบมากกว่าที่จะเป็นทหารม้า เพราะทหารราบสามารถฝึกให้อยู่รวมเป็นกองได้ในสนามรบ แต่ถ้าเป็นทหารม้าก็มักจะเป็นโอกาสให้หันหลังหนีเมื่อเผชิญหน้ากับอันตราย ทหารของจักรวรรดิโรมันไม่เหมือนทหารของอนารยชนตรงที่เป็นทหารที่ต้องได้รับการฝึกหัดอย่างสม่ำเสมอและต้องมีค่าจ้างซึ่งเป็นรายจ่ายที่เป็นภาระต่อจักรวรรดิ เมื่อการเกษตรกรรมและการเศรษฐกิจตกต่ำการเก็บภาษีที่บางส่วนนำมาบำรุงกองทัพก็ทำได้ยากยิ่งขึ้น ระบบต่างๆ ของจักรวรรดิโรมันจึงตกอยู่ในสภาวะที่บีบคั้น

ในสงครามกอธิค (ค.ศ. 376–382) กอธลุกขึ้นปฏิวัติต่อต้านกองทัพโรมันในยุทธการอาเดรียโนเปิล (ค.ศ. 378) จักรพรรดิวาเล็นสแห่งจักรวรรดิโรมันตะวันออกชิงโจมตีกองทหารราบเธอร์วิงภายใต้การนำของฟริติเกิร์นโดยไม่รอกองหนุนของจักรพรรดิกราเชียนแห่งจักรวรรดิโรมันตะวันตกที่กำลังอยู่ในระหว่างการเดินทางมาสมทบ ขณะที่ฝ่ายโรมันและเธอร์วิงกำลังต่อสู้กันอยู่ทหารม้าของฝ่ายกรืทธังก็เดินทางมาสมทบกับเธอร์วิง ซึ่งทำให้ฝ่ายโรมันได้รับความเพลี่ยงพล้ำและมีทหารรอดไปได้จากการต่อสู้ไปได้เพียงหนึ่งในสาม ความเสียหายครั้งนี้เป็นความเสียหายอันใหญ่หลวงของกองทัพโรมันมาตั้งแต่ยุทธการที่คันนาย (Cannae) ที่เกิดขึ้นเมื่อ 216 ปีก่อนคริสต์ศักราชตามหลักฐานจากการบันทึกของนักประวัติศาสตร์การทหารโรมันอัมมิอานัส มาร์เซลลินัส กองทหารหลักของจักรวรรดิโรมันตะวันออกถูกทำลายอย่างย่อยยับ จักรพรรดิวาเลนส์เองก็ทรงถูกสังหาร ซึ่งเป็นการเปิดโอกาสให้กอธสามารถเข้าทำลายคาบสมุทรบอลข่านได้อย่างมีเสรี รวมทั้งการทำลายที่เก็บอาวุธต่างๆ ตามฝั่งแม่น้ำดานูป นักประวัติศาสตร์อังกฤษเอ็ดเวิร์ด กิบบอนให้ความเห็นว่า “ทหารโรมันผู้ซึ่งมักจะสงบสำรวมเมื่อกล่าวถึงการกระทำที่ “ยุติธรรม” เมื่อกล่าวพฤติกรรมของการกระทำของกองทหารของตนเองในการปราบปรามผู้อื่น มิได้ออกความเห็นแต่อย่างใดเมื่อกองทหารของตนเองมาถูกทำลายโดยอนารยชน”[5]

จักรวรรดิโรมันที่ขาดกำลังทรัพย์หรืออาจจะขาดพลังใจในการที่จะก่อสร้างกองทหารอาชีพขึ้นใหม่แทนกองกำลังที่เสียไปที่อาเดรียโนเปิลก็เริ่มหันไปพึ่งกองทัพของอนารยชนในการต่อสู้แทนจักรวรรดิ จักรวรรดิโรมันตะวันออกสามารถติดสินบนกอธด้วยบรรณาการ แต่จักรวรรดิโรมันตะวันตกไม่อยู่ในฐานะที่จะทำเช่นเดียวกันได้ สติลิโค (Stilicho) แม่ทัพโรมันตะวันตกผู้เป็นลูกครึ่งแวนดัลดึงกองกำลังจากบริเวณเขตแดนลุ่มแม่น้ำไรน์มาป้องกันการรุกรานอิตาลีโดยชาววิซิกอท ในระหว่างปี ค.ศ. 402 ถึงปี ค.ศ. 403 และโดยชาวกอทอีกกลุ่มหนึ่งในระหว่างปี ค.ศ. 406 ถึงปี ค.ศ. 407

เมื่อวันที่ 31 ธันวาคม ค.ศ. 406 ทางพรมแดนก็พ่ายแพ้ เมื่อต้องถอยร่นจากการรุกรานอย่างรวดเร็วของฮั่น, แวนดัล, ซูบิ, และเมื่ออาลันข้ามแม่น้ำไรน์ที่แข็งตัวเข้ามาโจมตีไม่ไกลจากไมนทซ์ หลังจากนั้นกลุ่มชนเหล่านี้ก็บุกเข้าไปในกอล และตามด้วยชาวเบอร์กันดี และกลุ่มชนอลามานนิ ภายใต้บรรยากาศของความเสียหายที่ได้รับและความเกลียดชังอนารยชนที่ตามมาจักรพรรดิโฮโนเรียสก็เรียกตัวสติลิโคกลับมาสังหารในปี ค.ศ. 408 สติลิโคยอมเสียหัว “ด้วยความกล้าหาญอันควรค่าแก่การเป็นนายพลโรมันคนสุดท้าย” ตามที่บรรยายของเอ็ดเวิร์ด กิบบอน หลังจากนั้นจักรพรรดิโฮโนเรียสก็ทรงเหลือแต่เพียงที่ปรึกษาที่ขาดสมรรถภาพ สองปีหลังจากนั้นวิซิกอธนำโดยอลาริคที่ 1 ก็ตีกรุงโรมแตกเมื่อวันที่ 24 สิงหาคม ค.ศ. 410 ระหว่างสามวันหลังจากนั้นอลาริคก็เผาเมืองและไล่สังหารผู้คนไปเป็นจำนวนมากจนถนนหนทางก็นองไปด้วยเลือดและเต็มไปซากศพเป็นกองเพนิน วังและคฤหาสน์ต่างก็ถูกปล้นเอาของมีค่า ผู้ใดที่ต้องสงสัยว่าซ่อนของมีค่าก็ถูกทรมานให้บอกที่ซ่อน แต่กอธผู้เพิ่งเปลี่ยนมานับถือศาสนาคริสต์มิได้ทำลายคริสต์ศาสนสถาน หลังจากการทำลายเมืองแล้วก็มีเพียงผู้คนจำนวนไม่มากนักที่รอดมาได้เพราะเข้าไปหลบหนีภัยอยู่ในวาติกัน

ใกล้เคียง

ต้นสมัยกลาง ต้นสมอไทย ต้นไม้ตัดสินใจ ต้นไม้ของพ่อ ต้นไม้แบบที ต้นไม้แห่งการรู้ถึงความดีและความชั่ว ต้นไม้ (ทฤษฎีกราฟ) ต้นไม้เงินต้นไม้ทอง ต้นไม้ (โครงสร้างข้อมูล) ต้นไม้แดงดำ

แหล่งที่มา

WikiPedia: ต้นสมัยกลาง http://home.vicnet.net.au/~ozideas/poprus.htm http://calendar.dir.bg/inner.php?d=16&month=2&year... http://www.programata.bg/?p=62&c=1&id=51493&l=2 http://geography.about.com/library/weekly/aa011201... http://www.absoluteastronomy.com/topics/Rome http://www.britannica.com/eb/article-9239 http://www.britannica.com/ebi/article-207743 http://www.livescience.com/history/080623-hs-small... http://www.speedylook.com/Bulgaria.html http://www.unrv.com/empire/roman-population.php